รูปแบบอื่น ๆ ของ ความคิดเชิงไสยศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1954 นักมานุษยวิทยาชาวโปแลนด์มัลลินาฟสกี้ กล่าวถึงความคิดเชิงไสยศาสตร์อีกแบบหนึ่ง ที่เชื่อว่าคำและเสียงของคำ สามารถที่จะทำให้เกิดผลในโลกโดยตรง[11] ความเชื่อว่าสิ่งที่ตนหวังจะสำเร็จโดยประการเช่นนี้ อาจมีผลเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นกลัวว่าพูดถึงความเจ็บป่วย แล้วจะทำให้เกิดความเจ็บป่วย) เป็นการใช้คำเกลื่อนเพื่อจะหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อหรือคำใดคำหนึ่งโดยตรงหรือความเชื่อว่า การรู้ "ชื่อจริง" จะทำให้เกิดอำนาจเหนือสิ่งนั้นหรือว่า การสวดมนต์หรือการใช้คำอาคม จะมีผลในโลกจริง ๆ และโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะเป็นความคิดเชิงไสยศาสตร์ถ้าเราถือเอาสัญลักษณ์ (เช่นชื่อ เสียง สิ่งของที่เป็นตัวแทน เป็นต้น) ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหมือนกับเป็นสิ่งนั้นจริง ๆ

ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เชื่อว่า ความคิดเชิงไสยศาสตร์เกิดจากองค์ประกอบบางอย่างทางประชานในวัยพัฒนาการเขากล่าวว่า นักไสยศาสตร์มองเห็นสภาวะจิตใจของตนส่งไปปรากฏในโลกภายนอก คล้ายกับช่วง ๆ หนึ่งในวัยพัฒนาการของเด็ก[12] คือ ในช่วงที่เริ่มเดินได้จนถึงวัยไปโรงเรียน เด็ก ๆ มักจะเชื่อมโยงโลกภายนอกกับสภาวะจิตใจของตน เช่น "ฝนกำลังตกเพราะฉันรู้สึกเศร้าใจ"

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคิดเชิงไสยศาสตร์ http://psychologytoday.com/articles/pto-20080225-0... http://skepdic.com/magicalthinking.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1473331 http://www.csicop.org/SI/show/magical_thinking_in_... //doi.org/10.1016%2F0010-0285(92)90015-T //doi.org/10.1016%2Fj.pedn.2011.11.006 //doi.org/10.1016%2Fs0891-5245(06)80008-8 //doi.org/10.1037%2F0022-3514.67.1.48 //doi.org/10.1080%2F15289168.2011.600137 //doi.org/10.1086%2F201974